SDGs ที่เกี่ยวข้อง

กองกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล มีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินงานตามนโยบายมหาวิทยาลัยมหิดล ยุทธศาสตร์ที่ 2 Academic and Entrepreneurial Education กลยุทธ์ที่ 5 พัฒนาศักยภาพนักศึกษาและกระบวนการจัดกิจกรรมนักศึกษาให้ตอบสนองต่อการเป็น Global Citizen และ Global Talents และสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างเป็นคนมีคุณภาพ ผ่านกิจกรรมแลกเปลี่ยนภาษาและวัฒนธรรมนานาชาติ เพื่อพัฒนาทักษะความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาให้เป็นบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถทางวิชาการและวิชาชีพในระดับนานาชาติ

ปัจจุบันโลกเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์ หลายมหาวิทยาลัยในต่างประเทศได้เปิดสอนวิชาภาษาไทยหรือไทยศึกษาอย่างกว้างขวาง ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีสถานะและมีเสถียรภาพอันมั่นคงในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ ทำให้ชาวต่างชาติสนใจมาเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมไทยจำนวนมาก ด้วยทักษะความสามารถทางการสื่อสารในภาษาเดียวกันจะก่อให้เกิดความเห็นอกเห็นใจ มิตรภาพ และซึมซับความเป็นไทย อีกทั้งภาษาสามารถเป็นตัวกลางทำให้ชาวต่างชาติเข้าใจคนไทยและวัฒนธรรมไทยที่ลึกซึ้งมากขึ้น ทำให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีงามขึ้นระหว่างวัฒนธรรม รวมทั้งทำให้อยู่ด้วยกันอย่างสันติสุข เป็นการเข้าใจถึงความแตกต่างและความลงตัวของภาษาและวัฒนธรรมไทย

ความท้าทายด้านการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ในการผลิตบัณฑิตให้พร้อมกับชีวิตในศตวรรษที่ 21 เป็นเรื่องสำคัญของกระแสการปรับเปลี่ยนทางสังคมที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 21 ส่งผลต่อวิถีการดำรงชีพของสังคมอย่างทั่วถึง โครงการ Social Innovator Incubation – ASEAN in Today’s World 2023 เป็นโครงการที่จัดขึ้นเพื่อให้นักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลและนักศึกษาต่างชาติได้เรียนรู้ และเข้าใจเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals (SDGs) ผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย เพื่อการพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการเตรียมตัวเพื่อรองรับความท้าทายของกระแสการปรับเปลี่ยนทางสังคมที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 21 เป้าหมายเพื่อสร้างบัณฑิตที่มีคุณภาพ มีคุณค่าเป็นที่ยอมรับ สามารถทำงานและใช้ชีวิตในศตวรรษที่ 21 เช่น ทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะด้านชีวิต อาชีพ และนวัตกรรมเพื่อสังคม โดยมีการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ (Learning Skill) ที่ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงการจัดการ เรียนรู้เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความสามารถ และทักษะจำเป็นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals) ขององค์การสหประชาชาติ

นอกจากนี้ตลาดแรงงานสากลและบริษัทญี่ปุ่นชั้นนำภายในประเทศไทยมีความต้องการแรงงานและพนักงานบริษัทที่มีความรู้ความสามารถในการสื่อสารภาษาญี่ปุ่นค่อนข้างมาก ซึ่งบุคคลากรที่สามารถสื่อสารภาษาญี่ปุ่นภายในประเทศไทยได้ ถือว่ายังมีจำนวนน้อยกว่าความต้องการของตลาด ในประเทศไทยมีบริษัทญี่ปุ่นที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทยจำนวนมาก คิดเป็นร้อยละ 40 ของบริษัทต่างชาติที่มาลงทุนในประเทศไทย หรือมากกว่า 5,000 บริษัท โดยบริษัทญี่ปุ่นมักมุ่งเน้นการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมด้านยานยนต์ ไฟฟ้า เครื่องจักร ด้านอาหาร เป็นต้น อนึ่งถ้าบัณฑิตจบใหม่มีองค์ความรู้ความสามารถในด้านภาษาญี่ปุ่น โอกาสที่จะได้ทำงานกับบริษัทญี่ปุ่นย่อมมีมากกว่าคนทั่วไปที่ไม่ได้ภาษาญี่ปุ่น

หลักการและเหตุผลของโครงการ

พ.ศ. 2566 Kyushu University ประเทศญี่ปุ่น ได้ให้เกียรติมอบหมายให้ กองกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นเจ้าภาพจัดโครงการ ASEAN in Today’s World 2023 ด้วย กองกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล มีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินงานตามนโยบายมหาวิทยาลัยมหิดล ยุทธศาสตร์ที่ 2 Academic and Entrepreneurial Education กลยุทธ์ที่ 5 พัฒนาศักยภาพนักศึกษาและกระบวนการจัดกิจกรรมนักศึกษาให้ตอบสนองต่อการเป็น Global Citizen และ Global Talents และสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างเป็นคนมีคุณภาพ ผ่านกิจกรรมแลกเปลี่ยนภาษาและวัฒนธรรมนานาชาติ เพื่อพัฒนาทักษะความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาให้เป็นบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถทางวิชาการและวิชาชีพในระดับนานาชาติ

วัตถุประสงค์โครงการ

1. เพื่อจัดกิจกรรมพิธีเปิดและกิจกรรมปฐมนิเทศเตรียมความพร้อมนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลและนักศึกษาต่างชาติ
2. เพื่อสนับสนุนให้นักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลได้เข้าใจในความหลากหลายทางสังคมและวัฒนธรรมของนักศึกษาต่างชาติ และสามารถพัฒนาศักยภาพที่ตอบสนองต่อการเป็น Global Citizen และ Global Talents
3. เพื่อสนับสนุนให้นักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล ได้พัฒนาทักษะความสามารถด้านการฟัง (Listening) และการพูด (Speaking) สนทนาภาษาอังกฤษกับนักศึกษาชาวต่างชาติได้อย่างเกิดประสิทธิภาพ

กลุ่มเป้าหมาย

นักศึกษาจากต่างประเทศ นัักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลและบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อจำแนกผู้ใช้งานแต่ละคน โดยทำหน้าที่หลักคือประมวลทางสถิติ ตลอดจนลักษณะเฉพาะของกลุ่มผู้ใช้บริการนั้น ๆ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะนำมาใช้ในการวิเคราะห์รูปแบบพฤติกรรมของผู้ใช้บริการ และมหาวิทยาลัยจะนำผลลัพธ์ดังกล่าวไปใช้ในการปรับปรุงเว็บไซต์ให้ตอบสนองความต้องการ และการใช้งานของผู้ใช้บริการให้ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามข้อมูลที่ได้และใช้ประมวลผลนั้นจะไม่มีการระบุชื่อ หรือบ่งบอกความเป็นตัวตนของผู้ใช้บริการแต่อย่างใด อีกทั้งไม่มีการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ, นามสกุล, อีเมล เป็นต้น และใช้เป็นเพียงข้อมูลทางสถิติเท่านั้น ซึ่งจะช่วยให้มหาวิทยาลัยสามารถมอบประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์สำหรับคุณ และช่วยให้สามารถปรับปรุงเว็บไซต์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นได้ในเวลาเดียวกัน ทั้งนี้คุณสามารถเลือกตัวเลือกในการใช้งานคุกกี้ได้

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ที่จำเป็น คือคุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเพื่อให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้มั่นใจถึงฟังก์ชันพื้นฐานและคุณลักษณะด้านความปลอดภัยของเว็บไซต์

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์/เพื่อประสิทธิภาพ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้เราจดจำและนับจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์และทราบว่าผู้เข้าชมไปยังหน้าต่างๆ ในเว็บไซต์อย่างไร สิ่งนี้จะช่วยให้เราปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้นได้ในอนาคต ตัวอย่างเช่น ทำให้ผู้ใช้งานพบสิ่งที่ต้องการเข้าถึงได้ง่ายขึ้น

Save